เอลิซาเบธ แอน บลูมเมอร์ วอร์เรน ฟอร์ด (8 เมษายน พ.ศ. 2461 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) หรือทีรู้จักกันคือ เบ็ตตี ฟอร์ด เป็นภริยาของอดีตประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด และสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี พ.ศ. 2517 ถึงปี พ.ศ. 2520 เธอเป็นผู้ก่อตั้งเบ็ตตี ฟอร์ด เซ็นเตอร์ และเป็นประธานคนแรกของที่นี่
เบ็ตตี ฟอร์ดเกิดในชิคาโกชื่อเดิมคือ เอลิซาเบธ แอนน์ บลูมเมอร์ เป็นบุตรคนที่ 3 และเป็นบุตรหญิงคนเดียวของเซอร์วิลเลียม สตีเฟนสัน บลูมเมอร์นักเดินทางขายสินค้าของบริษัทรอยัล รับเบอร์กับภรรยาของเขาฮอร์เทรส นีอาร์ เธอมีพี่ชาย 2 คนคือ โรเบิร์ต และวิลเลียมจูเนียร์และหลังจากนั้นก็ไปอาศัยอยู่ที่เดนเวอร์เพียงครู่หนึ่ง เธอเติบโตในแกรนด์ ราพิด รัฐมิชิแกนที่ซึ่งเธอได้เรียนจบมาจากโรงเรียนเซนเทิล
หลังจากเหตุการณ์หุ้นวอลสตีทล่มในปีพ.ศ. 2472 เมื่อเบ็ตตี บลูมเมอร์อายุได้ 11 ปี เธอเริ่มต้นออกแบบเสื้อผ้าและสอนเด็กๆเต้นรำ เธอเรียนการเต้นรำจากสตูดิโอคาร์ลา ทราวิช แดนซ์ และเรียนจบในพ.ศ. 2478
เมื่อเธออายุได้ 16 ปี พ่อเธอเสียชีวิตจากการได้รับสารพิษคาร์บอน โมโนไซด์ในขณะที่กำลังซ่อมรถของครอบครัวในโรงรถ ซึ่งตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่าอาจเกิดอุบัติเหตุหรือฆ่าตัวตายซึ่งปัจจุบันไม่มีผู้ใดทราบ ในปีพ.ศ. 2476 หลังจากเรียนจบมาจากโรงเรียนเซนเทิล เธอได้ตั้งใจที่จะเรียนการเต้นรำที่นิวยอร์กแต่แม่ของเธอปฏิเสธ แต่เธอได้ไปเรียนการเต้นรำที่โรงเรียนการเต้นรำเบนนินตันในรัฐเวอร์มอนต์แทน เธอได้เรียนกับมาร์ธา เกรแฮม และฮันยา โฮล์ม
หลังจากเธอได้เป็นลูกศิษฐ์ของมาร์ธา เกรแฮม เบ็ตตี บลูมเมอร์ได้ย้ายไปอยู่ที่แมนฮัตตันและได้ทำงานเกี่ยวกับแฟชั่นที่บริษัทจอห์น โรเบิร์ต พาวเวอร์ เธอได้รับการสนับสนุนคณะของเกรแฮมและในที่สุดก็ทำงานสำเร็จที่คาร์เนจี ฮอลล์ แม่ของเธอได้แต่งงานใหม่กับอาเทอร์ เมิกห์ ก็อดวิน ไม่ยินยอมเกี่ยวกับงานของเธอและสั่งให้เธอย้ายบ้าน แต่เธอก็ไม่ยอม สุดท้ายแม่และพ่อเลี้ยงได้มาขอร้องให้เธอกลับมาบ้านภายใน 6 เดือน และถ้าไม่ได้ทำงานในนิวยอร์กก็ให้กลับไปที่มิชิแกน และเธอได้ทำในพ.ศ. 2484 เธอได้เป็นนักแฟชั่นของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในท้องถิ่น เธอได้จัดตั้งวงเต้นรำขึ้น และสอนการเต้นที่ต่างจากในแกรนด์ ราพิด โดยรวมเด็กกับผู้พิการเข้าด้วยกัน
ในปี พ.ศ. 2484 บลูมเมอร์ได้สมรสกับวิลเลียม จี วอลแลนนักขายเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งรู้จักกันมาตั้งแต่อายุได้ 12 ปี สามีของเธอได้เริ่มต้นขายประกัน ทำให้ต้องย้ายบ้านบ่อยๆ ครั้งหนึ่งพวกเขาอาศัยอยู่ในโทเลโด รัฐโอไฮโอที่ซึ่งเธอได้รับการว่าจ้างเป็นผู้สาธิตงานในห้างสรรพสินค้าราเซล แอนด์ ค็อกช์ งานนี้ส่งผลให้เธอเป็นพนักงานขายหญิง พวกเขาไม่มีบุตรด้วยกันและหย่ากันในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2490 เนื่องจากเห็นว่าเข้ากันไม่ได้ ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2491 บลูมเมอร์ได้สมรสกับเจอรัลด์ ฟอร์ดผู้เป็นนักกฎหมายและทหารผ่านศึกในสงครามโลกครั้งที่ 2ที่โบสถ์เกรซ เอพริสคอเปลในแกรนด์ ราพิด รัฐมิชิแกน การสมรสล่าช้าจนกระทั่งมีการคัดเลือกสั้นๆ เพราะนิตยสารเดอะนิวยอร์กไทมส์ได้รายงานว่า"เจอรี่กำลังวิ่งเพื่อสภาและไม่มั่นใจกับผู้เลือกตั้งว่าจะรู้สึกอย่างไรกับการแต่งงานกับแดนเซอร์ที่เคยหย่ามาแล้ว"
ครอบครัวฟอร์ดได้ย้ายไปอาศัยที่ชานเมืองวอชิงตัน ดี.ซี.ในรัฐเวอร์จิเนียอยู่ใกล้รัฐโคลัมเบียและอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 25 ปี เจอรัลด์ ฟอร์ดได้กลายเป็นนักการเมืองระดับสูงของพรรครีพับลิกัน จากนั้นได้รักการแต่งตั้งเป็นรองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาเมื่อสไปโร แอกนิวลาออกจากตำแหน่งนี้ในพ.ศ. 2516 และเจอรัลด์ ฟอร์ดได้เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาในพ.ศ. 2517 จากริชาร์ด นิกสันที่ลาออกไปในคดีวอเตอร์เกท
ในความเห็นของนิตยสารเดอะนิวยอร์กไทมส์ว่า "คุณนายฟอร์ดได้ส่งผลกระทบต่อธรรมเนียมของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นม่าย และสามีของเธอซึ่งอยู่ในตำแหน่งเพียง 896 วันเท่านั้น ต้องทำให้ความมีเกรียติของประธานาธิบดีกลับคืนมา"
ในขณะที่เธอได้เป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เธอได้ถูกโจมตีอย่างหนักเกี่ยวกับเรื่องในอดีตหลายเรื่อง แต่เธอก็ได้รับการสัมภาษณ์ผ่านสื่อนิตยสาร"60 นาที"อย่างตรงไปตรงมา ทำให้มีการวัดโพลปรากฏว่ามีผู้ชมชอบเธอถึง 75 เปอร์เซ็นต์
ในระหว่างเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เบ็ตตีสนับสนุนให้สตรีมีสิทธิ์พูดจาเปิดเผย เธอสนับสนุนการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เธอได้ดำเนินการเพื่อการทำให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้ง บทบาททางการเมืองของเธอนิตยสารไทม์ได้เรียกเธอว่าFighting First Lady และให้เธอเป็นสตรีแห่งปีในฐานะเป็นชาวอเมริกันที่ทำเพื่อสิทธิสตรี เจอรัลด์ได้ถามภรรยาซึ่งสนับสนุนสิทธิสตรีให้เลือกว่าจะดำเนินหรือยุติการตั้งครรภ์ในทัศนคติของเธอ อย่างไรก็ตามเขาบอกผู้สัมภาษณ์ แลร์รี คิง ภายในขอบเขตของพรรค
หลายสัปดาห์หลังจากเบ็ตตี ฟอร์ดเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เธอได้ตรวจพบมะเร็งเต้านมและผ่าตัดเต้านมในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2517 การป่วยของเธอทำให้ชาวอเมริกันแต่ก่อนไม่อยากพูดถึง"เมื่อผู้หญิงคนอื่นเป็น ไม่เห็นพาดหัวข่าว" เธอพูดผ่านทางนิตยสารไทม์ว่า"ในความเป็นจริง ฉันเป็นภริยาของประธานาธิบดีถึงได้พาดหัวข่าวและได้นำมาก่อนที่รู้กันโดยทั่วไป โดยเฉพาะประสบการณ์นี้ที่ฉันกำลังฟันฝ่า มันทำให้ผู้หญิงมากมายตระหนักถึงสิ่งที่มันสามารถบังเกิดขึ้นแก่พวกเขา ฉันมั่นใจว่า ฉันอาจจะรอดจากโรคนี้แค่เพียงคนเดียวหรืออาจมากกว่านั้น"จากคำพูดนี้มีผู้สนับสนุนมากมายในวงกว้างเพื่อให้ตระหนักถึงภัยของมะเร็งเต้านม ในหลายสัปดาห์หลังจากเบ็ตตี ฟอร์ดได้รับการผ่าตัดเอาเต้านมออก แฮปปี้ ร็อกเคฟเฟลเลอร์ภริยาของรองประธานาธิบดี เนลสัน ร็อกเคฟเฟลเลอร์ก็ได้รับการผ่าตัดเอาเต้านมออกด้วยเช่นกัน
เบ็ตตี ฟอร์ดได้สนับสนุนเกี่ยวกับศิลปะในขณะดำรงตำแหน่งสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกา และการแสดงในมาร์ธา เกรแฮมทำให้ได้รับเหรียญตราแห่งเสรีภาพ เบ็ตตี ฟอร์ดได้เก็บรักษารางวัลจาก โรงเรียนพาร์สัน ซึ่งเป็นโรงเรียนเกี่ยวกับแฟชั่น
หลังจากสามีของเธอพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1976เธอได้กล่าวสุนทรพจน์การยอมให้ในประวัติศาสตร์ เบ็ตตีได้พูดเพื่อประธานาธิบดีและถูกต้องแล้วที่เลือกจิมมี คาร์เตอร์หลังจากเจอรัลด์ ฟอร์ดแพ้คะแนนเสียงในการเลือกตั้ง
ในพ.ศ. 2521 เวลาที่ครอบครัวฟอร์ดเริ่มต่อต้านการติดสุราและการต่อต้านการเสพติดยาที่ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวด ซึ่งได้มีกฎหมายกำหนดขึ้นในก่อนปีพ.ศ. 2503ที่มีผลต่อระบบประสาท "ฉันชอบแอลกอฮอล์"เป็นคำที่เบ็ตตี ฟอร์ดเขียนไว้ในบันทึกประจำวันปีพ.ศ. 2530 "มันทำให้ฉันรู้สึกอบอุ่น และฉันชอบทานยาเม็ด พวกมันช่วยบรรเทาความตึงเครียดและความเจ็บปวด" ในพ.ศ. 2525 หลังจากเธอหายเป็นปกติ เธอได้ก่อตั้งเบ็ตตี ฟอร์ด เซ็นเตอร์ ขึ้นในรันโช มิราจ รัฐแคลิฟอร์เนียเพื่อบำบัดรักษาผู้ที่ติดสารเสพติด เธอได้เขียนถึงการบำบัดรักษาในหนังสือปี2530 ชื่อว่า Betty: A Glad Awakening ในพ.ศ. 2546 เธอได้ประพันธ์หนังสืออื่นอีก คือ Healing and Hope: Six Women from the Betty Ford Center Share Their Powerful Journeys of Addiction and Recovery
ในพ.ศ. 2548 เธอได้สละตำแหน่งประธานของเบ็ตตี ฟอร์ด เซ็นเตอร์ บุตรสาว ซูซาน ฟอร์ดจึงรับหน้าที่ต่อไป
ในปีที่หลังจากออกจากทำเนียบขาวพ.ศ. 2520 เบ็ตตี ฟอร์ดได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระทำงานในเบ็ตตี ฟอร์ด เซ็นเตอร์ เธอได้พูดถึงเรื่องของการต่อสู้ของสตรีไว้มากมาย และได้ทำงานการกุศลทางศาสนา ในพ.ศ. 2530 เธอได้เปิดศูนย์เกี่ยวกับโรคหัวใจ แต่เป็นการทำไปได้ยาก ในพ.ศ. 2534 เธอได้รับรางวัลเหรียญตราแห่งเสรีภาพ(Presidential Medal of Freedom)จากประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชและได้รางวัล Congressional Gold Medalในปีพ.ศ. 2542 ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เบ็ตตีได้รับรางวัลที่เป็นที่เคารพนับถือWoodrow Wilson Awardที่ลอสแอนเจลิส เพื่อการบริการจากWoodrow Wilson Center เธอได้อาศัยอยู่ที่รันโช มิราจ และในแบรเวอร์ เครกกับสามีของเธอ และในปีนั้นเองเจอรัลด์ ฟอร์ดสามีของเธอเสียชีวิตจากโรคหัวใจล้มเหลวในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549 อายุ 93 ปี เบ็ตตี ฟอร์ดได้เดินทางมาไกลเพื่อมาร่วมพิธีฝังศพสามีของนาง
หลังจากที่สามีเสียชีวิตไปแล้ว เบ็ตตี้ ฟอร์ดได้อาศัยอยู่ที่เมืองรันโชมิราจต่อไป ในขณะอายุ 93 ปี เธอเป็นอดีตผู้อาศัยในทำเนียบขาวที่มีอายุมากที่สุด และเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกาที่มีอายุยืนยาวที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจาก เบสส์ ทรูแมน (97 ปี) และ เลดี เบิร์ด จอห์นสัน (94 ปี) สุขภาพที่ไม่แข็งแรงและความอ่อนแอที่เพิ่มมากขึ้นจากการผ่าตัดรักษาลิ่มเลือดที่ขาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 และเมษายน พ.ศ. 2554 ทำให้ต้องลดการใช้ชีวิตท่ามสาธาณชน ปัญหาสุขภาพของเบตตี้ ฟอร์ดทำให้เธอไม่สามารถไปร่วมงานฝังศพของเลดี เบิร์ด จอห์นสัน เพื่อนเก่าของเธอและอดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ได้ ซูซาน ฟอร์ด บุตรสาวจึงไปร่วมงานในฐานะตัวแทนของแม่แทน
เจอรัลด์และเบ็ตตี้ ฟอร์ด เป็นประธานาธิบดีและสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐอเมริกาที่มีอายุเกินเก้าสิบปี เช่นเดียวกับอดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง แนนซี่ เรแกน ได้มีอายุครบ 90 ปี เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ดังนั้นเธอและสามี อดีตประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน จึงร่วมกับสามีภรรยาฟอร์ดในฐานะที่เป็นคู่สามีภรรยาหมายเลขหนึ่งที่มีอายุอยู่ในช่วงเก้าสิบปี
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2511 เบ็ตตี้ ฟอร์ดมีอายุครบ 93 ปี เท่ากับสามี อดีตประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด ที่มีอายุเท่ากันในวันเกิดครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
เบ็ตตี้ ฟอร์ดถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ณ ศูนย์การแพทย์ไอเซนฮาวร์ เมืองรันโชมิราจ รัฐแคลิฟอร์เนีย สิริอายุ 93 ปี 3 เดือน